วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ความหมาย โฮซานนา อาแมน อัลเลลูยา

เป็นคำทับศัพท์ภาษากรีกที่พบในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ได้แก่ มัทธิว 21:9 มาระโก 11:9 และ ยอห์น 12:13 ในเหตุการณ์ เดียวกัน คือ เมื่อพระเยซูทรงลาเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้มีชัย แล้วประชาชนที่ร่วมขบวนเข้าสู่เทศกาลปัสกาก็โห่ร้องด้วยความยินดีว่า “โฮซานนา แด่โอรสของกษัตริย์ดาวิด ขอถวายพระพรแด่ผู้มาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า โฮซานนา ณ สวรรค์สูงสุด” ซึ่งเป็นข้อความที่หยิบยกมาจากเพลงสดุดี 118:25 ดังนั้นคำกรีก “โฮซานนา” จึงมีที่มาจากคำฮีบรูในเพลงสดุดีว่า “โฮซีอาห์ นาห์” ซึ่งแปลว่า“ขอทรงช่วย. ..ให้รอดเถิด” แต่ผู้เขียนพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่มีความตั้งใจที่จะไม่แปลความหมาย แต่ใช้การทับศัพท์แทน คำ “โฮซานนา” นี้ยังเกี่ยว โยงกับความหวังของชาวยิวในพระเมสสิยาห์อีกด้วย คือเกี่ยวโยงกับพระองค์ผู้จะเสด็จมาในพระนามของพระยาห์เวห์ ดังนั้นเมื่อประชาชน โห่ร้องต้อนรับพระเยซูเวลานั้น พวกเขากำลังต้อนรับพระองค์ในฐานะพระเมสสิยาห์ ดังจะสังเกตได้จากการที่พวกเขาร้องเรียกพระองค์ว่า “บุตรของดาวิด” ซึ่งเป็นวลี หมายถึง พระเมสสิยาห์ผู้จะเสด็จมาจากเชื้อสาย ของกษัตริย์ดาวิด
ในที่นี้เราจะพบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคำนี้ คือ ความหมายดั้งเดิมนั้นเป็นคำอธิษฐานทูลขอการช่วยกู้ แต่ต่อมาในสมัยพระ เยซู คำนี้กลับเป็นคำโห่ร้องแสดงความยินดีต้อนรับ ดังนั้นคำว่า“โฮซาันนา” ที่ใช้ในปัจจุบัน หมายถึง “สรรเสริญ (พระเจ้า)”






คำนี้ไม่ใช่คำอุทานที่แสดงออกถึงความรู้สึกชื่นชมยินดีและไร้ความหมาย แต่เป็นคำที่มีความหมายซึ่งมาจากคำฮีบรูสองคำ คือ คำกริยา “ฮาเลลู” แปลว่า (ท่านทั้งหลาย) จงสรรเสริญ และคำนาม “ยาห์” ซึ่งเป็นพระนามย่อจากพระนามเต็มของพระเจ้าว่าพระยาห์เวห์ เพราะฉะนั้น คำ “อัลเลลูยา” จึงแปลว่า “จงสรรเสริญพระยาห์เวห์”
คำ “อัลเลลูยา” ปรากฏในเพลงสดุดี 24 ครั้ง ได้แก่ 104:35; 105:45; 106:1,48; 111:1; 112:1; 113:1, 9; 115:18; 116:19; 117:2; 135:1, 3, 21; 146:1, 10; 147:1, 20; 148:1, 14; 149:1, 9; 150:1, 6 และเมื่อสังเกตตำแหน่งที่ตั้งของคำ “อัลเลลูยา” เรา พบว่าคำนี้ปรากฏต้นบทบ้าง ในบทบ้าง และท้ายบทบ้าง ดูตัวอย่าง เพลงสดุดี 135:1, 3, 21






คำนี้ได้ยินกันบ่อยในเวลาจบคำอธิษฐาน โดยมีความหมายว่า “ขอให้เป็นดังนั้นเถิด” คำว่า “อาเมน”เป็นคำทับศัพท์ภาษาฮีบรูและภาษากรีกมีความหมายว่า “จริงแท้ แน่นอน เชื่อถือได้” นี่คือคำที่ผู้ฟังเปล่งออกมาเพื่อตอบสนองสิ่งที่พวกเขาได้ยินโดยต้องการยืนยันว่า เขาเห็นด้วยและพร้อมที่จะแบกรับผลที่เกิดขึ้นจากการยอมรับนั้น ไม่ว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นจะเป็นคำสาบาน (เนหะมีย์ 5:11-13) คำอวยพร (เยเรมีย์ 11:5) คำสาปแช่ง (เฉลยธรรมบัญญัติ 27:15-26) คำอธิษฐาน (มัทธิว 6:13) หรือ คำสรรเสริญพระเจ้า (1พงศาวดาร 16:36, เนหะมีย์ 8:6, สดุดี 89:52)
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวยิวที่ตกทอดมาถึงคริสตชนก็คือเมื่อผู้อ่านพระคัมภีร์หรือผู้เทศนาอธิษฐานต่อพระเจ้า คนอื่น ๆในที่ประชุมจะร้องตอบสนองว่า อาเมน เพื่อให้คำอธิษฐานนั้นเป็นของพวกเขาเอง (ดู 1โครินธ์ 14:16 )


สุดท้าย ขอสรุปว่า ทั้งสามคำข้างต้นมิใช่คำอุทานที่เปล่งออกมาตามอารมณ์อย่างไร้ค่า แต่เป็นคำที่มีความหมายและออกมาจากความตั้งใจ ดังนั้นในการนมัสการพระเจ้า เราจึงนมัสการพระองค์อย่างมีความหมาย เราไม่เพียงสรรเสริญพระองค์ด้วยเสียงจากปาก แต่สรร เสริญพระองค์ด้วยความคิดและด้วยจิตใจ ( ดู1 โครินธ์ 14:15 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น