วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ความหวัง

ความหวัง – ความปรารถนาสุดท้าย


เมื่อได้รับการรักษาคนไข้ผู้นี้มานานพอสมควรแล้ว ที่สุดคุณหมอก็ตัดสินใจที่จะบอกความจริงแก่คนไข้ของเขา
“หมอจำเป็นต้องบอกความจริงอะไรบางอย่างแก่เธอ อาการป่วยของเธอนั้นหนักจริงๆ หมดคิดว่าคงอยากจะรู้ความจริง...ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตมาถึงแล้วนะ และตอนนี้เธออยากจะพบใครเป็นครั้งสุดท้ายบ้างไหมละ”
คุณหมอก้มหน้าลงเข้าไปใกล้คนไข้ เพื่อฟังคำตอบของเขา
“อยากครับผม”
“เธอต้องการพบใคร” คุณหมอถาม
คนไข้ตอบว่า....
คำถาม
1.คนไข้ตอบคุณหมอว่าอย่างไร
2.เรื่องนี้มีบทสอนอะไร
คำตอบ
1.ด้วยเสียงที่แผ่วเบา คนไข้ตอบคุณหมอว่า “ผมต้องการพบคุณหมอคนใหม่”
2.ความตายเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ไม่มีใครยอมแพ้ความตาย ต่างคนต่างอยากที่จะมีชีวิตอยู่ ผลการวิจัยต่างออกมาอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าคนเราพยายามที่จะเอาชนะโรคร้ายทุกชนิด คุณหมอหลายคนได้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคมะเร็งขั้นสุดท้ายด้วยการรักษาทางจิตบำบัด สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เป็นพลังที่สำคัญที่ทำให้คนไข้มีชีวิตอยู่ต่อไป คือ กำลังใจ และความปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปนั้นเอง

ความ้เมตตา

ความเมตตา – เสรีภาพที่แท้จริง


ในช่วงต้นๆ ของศตวรรษที่ 19 ยังมีชาวไร่คนหนึ่งที่เกิดความรู้สึกสงสารเด็กหญิงคนหนึ่งที่ถูกนำมาขายเป็นทาสในตลาดค้าทาส เด็กหญิงคนนี้เอาแต่ร้องไห้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนเธอคงไม่มีความสุขเลยที่ต้องถูกกระทำเช่นนี้ ด้วยความสงสารอย่างจับใจ ชาวไร่ผู้นี้จึงได้ขอซื้อเธอด้วยราคาที่สูงมากแล้วเขาก็หายตัวไปจากฝูงชนที่นั้น
เมื่อนายค้าทาสได้รับเงินค่าตัวแล้วจึงได้มาหาเจ้าหน้าที่เพื่อจะได้ปล่อยตัวทาสที่ถูกซื้อไปนั้น เด็กหญิงคนนี้ต้องแปลกใจอย่างมากทีเดียวเพราะชาวไร่ผู้มีใจเมตตาได้เขียนแต่เพียงว่า “ ให้เป็นอิสระ ” โดยไม่ต้องการตัวเธอไปทำงานเลย เธอยืนนิ่งพูดอะไรไม่ออก ในขณะที่ทาสคนอื่นๆที่มีผู้ซื้อตัวไป กลับถูกฉุดกระชากลากถูไปตามพื้นเพื่อไปรับใช้เจ้าของรายใหม่นั้นๆ ระหว่างภาพอันน่าหดหู่ใจนั้น เด็กหญิงผู้นี้ก้มลงไปยังแทบเท้าของเจ้าหน้าที่และร้องเรียนว่า “ท่าเจ้าขา ใครคือผู้ที่ซื้อหนู หนูต้องการพบเขา เขาให้อิสรภาพแก่หนู” แล้วเธอก็กล่าวต่อไปว่า...
คำถาม
1. เธอกล่าวอะไรต่อไปอีก
2. เรื่องนี้ให้บทสอนอะไร
ตอบ
1. “หนูจะต้องรับใช้เขาไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่”
2. ความเมตตาที่ชาวไร่ได้ให้แก่เด็กหญิงผู้นี้ทำให้เธอปรารถนาที่จะเป็นทาสของเขาไปจนตลอดชีวิต ความรักช่วยขจัดสันดานดิบมากกว่าการบังคับและขู่เข็ญใดๆ

ความหมาย โฮซานนา อาแมน อัลเลลูยา

เป็นคำทับศัพท์ภาษากรีกที่พบในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ได้แก่ มัทธิว 21:9 มาระโก 11:9 และ ยอห์น 12:13 ในเหตุการณ์ เดียวกัน คือ เมื่อพระเยซูทรงลาเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้มีชัย แล้วประชาชนที่ร่วมขบวนเข้าสู่เทศกาลปัสกาก็โห่ร้องด้วยความยินดีว่า “โฮซานนา แด่โอรสของกษัตริย์ดาวิด ขอถวายพระพรแด่ผู้มาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า โฮซานนา ณ สวรรค์สูงสุด” ซึ่งเป็นข้อความที่หยิบยกมาจากเพลงสดุดี 118:25 ดังนั้นคำกรีก “โฮซานนา” จึงมีที่มาจากคำฮีบรูในเพลงสดุดีว่า “โฮซีอาห์ นาห์” ซึ่งแปลว่า“ขอทรงช่วย. ..ให้รอดเถิด” แต่ผู้เขียนพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่มีความตั้งใจที่จะไม่แปลความหมาย แต่ใช้การทับศัพท์แทน คำ “โฮซานนา” นี้ยังเกี่ยว โยงกับความหวังของชาวยิวในพระเมสสิยาห์อีกด้วย คือเกี่ยวโยงกับพระองค์ผู้จะเสด็จมาในพระนามของพระยาห์เวห์ ดังนั้นเมื่อประชาชน โห่ร้องต้อนรับพระเยซูเวลานั้น พวกเขากำลังต้อนรับพระองค์ในฐานะพระเมสสิยาห์ ดังจะสังเกตได้จากการที่พวกเขาร้องเรียกพระองค์ว่า “บุตรของดาวิด” ซึ่งเป็นวลี หมายถึง พระเมสสิยาห์ผู้จะเสด็จมาจากเชื้อสาย ของกษัตริย์ดาวิด
ในที่นี้เราจะพบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคำนี้ คือ ความหมายดั้งเดิมนั้นเป็นคำอธิษฐานทูลขอการช่วยกู้ แต่ต่อมาในสมัยพระ เยซู คำนี้กลับเป็นคำโห่ร้องแสดงความยินดีต้อนรับ ดังนั้นคำว่า“โฮซาันนา” ที่ใช้ในปัจจุบัน หมายถึง “สรรเสริญ (พระเจ้า)”






คำนี้ไม่ใช่คำอุทานที่แสดงออกถึงความรู้สึกชื่นชมยินดีและไร้ความหมาย แต่เป็นคำที่มีความหมายซึ่งมาจากคำฮีบรูสองคำ คือ คำกริยา “ฮาเลลู” แปลว่า (ท่านทั้งหลาย) จงสรรเสริญ และคำนาม “ยาห์” ซึ่งเป็นพระนามย่อจากพระนามเต็มของพระเจ้าว่าพระยาห์เวห์ เพราะฉะนั้น คำ “อัลเลลูยา” จึงแปลว่า “จงสรรเสริญพระยาห์เวห์”
คำ “อัลเลลูยา” ปรากฏในเพลงสดุดี 24 ครั้ง ได้แก่ 104:35; 105:45; 106:1,48; 111:1; 112:1; 113:1, 9; 115:18; 116:19; 117:2; 135:1, 3, 21; 146:1, 10; 147:1, 20; 148:1, 14; 149:1, 9; 150:1, 6 และเมื่อสังเกตตำแหน่งที่ตั้งของคำ “อัลเลลูยา” เรา พบว่าคำนี้ปรากฏต้นบทบ้าง ในบทบ้าง และท้ายบทบ้าง ดูตัวอย่าง เพลงสดุดี 135:1, 3, 21






คำนี้ได้ยินกันบ่อยในเวลาจบคำอธิษฐาน โดยมีความหมายว่า “ขอให้เป็นดังนั้นเถิด” คำว่า “อาเมน”เป็นคำทับศัพท์ภาษาฮีบรูและภาษากรีกมีความหมายว่า “จริงแท้ แน่นอน เชื่อถือได้” นี่คือคำที่ผู้ฟังเปล่งออกมาเพื่อตอบสนองสิ่งที่พวกเขาได้ยินโดยต้องการยืนยันว่า เขาเห็นด้วยและพร้อมที่จะแบกรับผลที่เกิดขึ้นจากการยอมรับนั้น ไม่ว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นจะเป็นคำสาบาน (เนหะมีย์ 5:11-13) คำอวยพร (เยเรมีย์ 11:5) คำสาปแช่ง (เฉลยธรรมบัญญัติ 27:15-26) คำอธิษฐาน (มัทธิว 6:13) หรือ คำสรรเสริญพระเจ้า (1พงศาวดาร 16:36, เนหะมีย์ 8:6, สดุดี 89:52)
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวยิวที่ตกทอดมาถึงคริสตชนก็คือเมื่อผู้อ่านพระคัมภีร์หรือผู้เทศนาอธิษฐานต่อพระเจ้า คนอื่น ๆในที่ประชุมจะร้องตอบสนองว่า อาเมน เพื่อให้คำอธิษฐานนั้นเป็นของพวกเขาเอง (ดู 1โครินธ์ 14:16 )


สุดท้าย ขอสรุปว่า ทั้งสามคำข้างต้นมิใช่คำอุทานที่เปล่งออกมาตามอารมณ์อย่างไร้ค่า แต่เป็นคำที่มีความหมายและออกมาจากความตั้งใจ ดังนั้นในการนมัสการพระเจ้า เราจึงนมัสการพระองค์อย่างมีความหมาย เราไม่เพียงสรรเสริญพระองค์ด้วยเสียงจากปาก แต่สรร เสริญพระองค์ด้วยความคิดและด้วยจิตใจ ( ดู1 โครินธ์ 14:15 )

แม่ลูกผูกพันธ์

นิตยสารแม่พระยุคใหม่ ราย 2 เดือน ฉบับที่ 166 ปีที่ 29 กรกฏาคม – สิงหาคม 2009/2552


เศรษฐีคนหนึ่ง อยู่กรุงเทพฯ เป็นนักสะสมซากสัตว์ เขาสัตว์ งาช้าง หนังเสือ เต็มบ้านหมด ทุกเสาร์ อาทิตย์ ก็ออกไปล่าสัตว์ ภรรยามีลูกอ่อน อายุประมาณ 3 เดือน วันหนึ่งขณะออกล่าสัตว์เห็นลูกลิงตัวหนึ่ง สวย น่ารัก แปลกมาก อยากได้มาเลี้ยงที่กรุงเทพฯ ก็ปรึกษากับพรานป่าคนนำทางว่าทำอย่างไรจึงจะได้ลูกลิงมาเลี้ยง



พรานป่าบอกว่า โดยสัญชาตญาณลิงจะรักลูกมาก รักสุดชีวิต ตราบใดที่แม่ลิงยังไม่ตาย ไม่มีใครสามารถเอาลูกมันออกจากอกได้ มันสู้สุดชีวิตสุดท้าย เศรษฐีตัดสินใจยิงแม่ลิงตาย แล้ว เอาลูกลิงสีขาวมาเลี้ยงที่กรุงเทพฯ เมื่อยิงแม่ลิงตาย ก็เอาเนื้อไปแกงให้ลูกน้องถลกหนังเก็บหนังไว้ประดับบ้าน

พอกลับถึงกรุงเทพฯ ก็เอาลูกลิงเลี้ยงไว้ในบ้าน หยอกล้อวิ่งเล่นกับลูกลิง เป็นที่สนุกสนาน ส่วนหนังลิงตัวแม่ มันยังสดอยู่ มีกลิ่นเหม็น ก็เอาไปตากแดดที่ลานจอดรถหน้าบ้าน

เช้าวันหนึ่ง ขณะภรรยาเศรษฐีกำลังให้นมลูกกินในห้องรับแขกหน้าบ้าน ภรรยาร้องโฮดังลั่นบ้าน เศรษฐีตกใจ วิ่งลงมาจากชั้นบน โผเข้าไปกอดภรรยาและลูกไว้ ใบหน้าตกใจสุดขีด พยายามถามภรรยาว่าเกิดอะไรขึ้น ภรรยาไม่ยอมตอบ เอาแต่ส่ายหน้า แล้วก็ร้องไห้ หันไปมองหน้าลูก กำลังหลับตาพริ้มอย่างมีความสุข นั่งปลอบภรรยาอยู่สักครู่ พอเริ่มตั้งสติได้ก็ถามภรรยาว่า เกิดอะไรขึ้น ตกใจเรื่องอะไร ร้องไห้เรื่องอะไร ภรรยาไม่ยอมพูด แต่ชี้มือไปที่ลาดจอดหน้าบ้าน เศรษฐีมองตามไป เห็นภาพถึงกับผงะ ตกใจ น้ำตาไหล ไม่รู้ว่าลูกลิงที่เอามาเลี้ยงไว้หลุดออกไปนอกบ้านตั้งแต่เมื่อไหร่ มันออกไปดูดนมแม่ที่เป็นหนังแห้ง ตากไว้ที่โรงรถ ดูดเสร็จ มันก็ก้มลงกอดแม่ น้ำตาไหล เศรษฐีและภรรยาทนดูไม่ได้ ร้องไห้ แล้วคุยกันว่า







“ถ้ามีคนทำกับครอบครัวเราอย่างนี้บ้าง เราจะรู้สึกอย่างไร จะเศร้าโศก เสียใจทุกข์ทรมานใจขนาดไหน”

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เศรษฐีสั่งให้เอาซากสัตว์ที่สะสมทั้งหมดไปเผา เอาลูกลิงไปปล่อยในป่า เลิกล่าสัตว์หันมาเข้าวัด ทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แม่ลิง และขออโหสิกรรม ทุกครั้งที่ทำบุญจะขอพรทุกครั้งว่า ... ขออย่าให้มีใครมาทำกับครอบครัวเรา เหมือนที่เราได้ทำกับครอบครัวลิงตัวนั้นเลย
ถ้ารักลูกของเรา จงอย่าทำร้ายลูกคนอื่น

ถ้าอยากให้ครอบครัวของเรามีความสุข อย่าทำร้ายครอบครัวคนอื่น

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

นาฬิกาที่หายไป

ที่มา : หนังสืออุดมศานต์รายเดือน ประจำเดือนมิถุนายน ปี 2552
มีชาวนาคนหนึ่ง เขามีนาฬิกาข้อมือเรือนหนึ่งที่ตกทอดเป็นมรดกมาถึงเขา เขาสวมนาฬิกาเรือนนี้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาอาบน้ำกับเวลานอน
วันหนึ่งเขาไปทำความสะอาดคอกม้า พอเสร็จแล้วเขาก็พบว่านาฬิกาข้อมือได้หล่นหายไป เขากลับไปหา แห่หาเท่าไรก็ไม่เจอ
ระหว่างนั้นเอง มีเด็กกลุ่มหนึ่งเดินผ่านมา และเห็นชาวนาพยายามหาของอยู่ก็เลยถามว่า “หาอะไรอยู่ครับ” ชาวนาก็บอก เด็กๆว่าทำนาฬิกาหายไป ถ้าเด็กๆหาเจอ จะให้เงินตอบแทน เด็กๆก็เลยแข่งขันกันค้นหานาฬิกา ต่างก็วิ่งไปวิ่งมารื้อข้าวของ ส่งเสียงกันเจี๊ยวจ้าว เวลานานต่อไปพอดู เด็กๆต่างคนต่างก็เลิกหา เพราะหาเท่าไรก็หาไม่เจอสักที
ชาวนาก็ถอดใจเหมือนกันและคิดว่าคงหายและหาไม่เจอ แล้ว แต่ก็มีเด็กคนหนึ่งเขาบอกกับชาวนาว่า ขอเวลาหาอีกหน่อยนะครับ “ขอผมอยู่คนเดียวสักพัก ลองดูว่าจะหาเจอไหม?”
เด็กคนนั้นก็เริ่มหาต่อไป สักพักชาวนาก็บอกกับเด็กคนนั้นว่าจะกลับไปรอที่บ้านแต่ช่วงขณะนั้นเองเด็กคนนั้นก็เดินออกมาพร้อมกับนาฬิกาข้อมือเรือนที่คิดว่าหายไปนั้น
ชาวนาประหลาด ใจมาก เพราะเขาหาตั้งนาน พวก เด็กคนอื่นก็หาตั้งนาน ทำไม ไม่ม ีใครหาเจอ ชาวนาจึงถามเคล็ดลับ ของเด็กคนนั้นว่าหาเจอได้อย่างไร เด็กคนนั้นบอกว่า
“ผมเข้าไปในคอกม้า แล้วก็เลือกมุมๆหนึ่งแล้วนั่งลงเฉยๆ และตั้งใจฟัง สักพักหนึ่งก็ค่อยๆ เริ่มได้ยินเสียงนาฬิกาเดิน แล้วผมก็เดินตามเสียงนั้นไป จึงพบนาฬิกาเรือนนี้ล่ะครับ”
ชาวนายิ้ม ขอบใจ และให้รางวัลเด็กคนนั้น

คุณค่าของมิสซา


จงระลึกไว้เถิดว่า เมื่อท่านจวนจะสิ้นใจนั้นมิสซาทั้งหมดที่ท่านได้ร่วมอย่างศรัทธา จะปลอบใจท่านอย่างอเนกอนันต์
เมื่อท่านร่วมถวายมิสซาด้วยใจศรัทธา ท่านก็ถวายเกียรติสูงสุดแด่มนุษยภาพของพระเยซูเจ้า
ท่านอาจถวายให้วิญญาณในไฟชำระพ้นโทษได้ เพราะมิสซามีค่าสูงสุด
ท่านจะได้รับพร แม้สำหรับธุรกิจการงานในโลกนี้
พระองค์จะไม่สนพระทัยในความเลินเล่อมากมายของท่าน
พระองค์ทรงยกบาปท่าน แม้ที่ท่านไม่เคยสารภาพ แต่มีความทุกข์จริงใจแล้ว
แต่ละมิสซา เป็นการวอนขออภัยให้ท่าน จากพระยุติธรรมของพระเจ้า
แต่ละมิสซา ช่วยลดโทษบาปของท่าน มากหรือน้อยสุดแล้วแต่ความศรัทธาของท่านในการร่วมมิสซา
แต่ละมิสซา ช่วยผลักไสปีศาจออกห่างจากท่าน
แต่ละมิสซา ป้องกันท่านให้พ้นอันตรายนานา ที่อาจมาถึงตัวท่านโดยไม่รู้ตัว
แต่ละมิสซา ลดเวลาในไฟชำระให้สั้นลง
แต่ละมิสซา เพิ่มเกียรติมงคลที่ท่านจะรับในสวรรค์
แต่ละมิสซา ได้รับพรจากพระสงฆ์ ซึ่งมีองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้รับรอง
มิสซาเดียวที่ท่านได้ร่วมขณะยังมีชีวิตอยู่ จะช่วยท่านให้รอด มากกว่าอีกหลายมิสซา ที่คนอื่นจะถวายให้เมื่อท่านตายไปแล้ว
* “คริสตชนเอ๋ย จงรู้ไว้เถิดว่า ร่วมมิสซาหนึ่งครั้ง ท่านได้บุญกุศลมากกว่าแจกทรัพย์สมบัติแก่คนจน หรือจาริกแสวงบุญไปทั่วทุกแห่งในโลก” (นักบุญเบอร์นาร์ด)
* “พระเจ้าทรงโปรดทุกสิ่งให้เรา ตามที่วอนขอในมิสซา และยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประทานให้แม้สิ่งที่เราไม่คิดจะวอนขอ แต่จำเป็นแก่เราอีกด้วย” (นักบุญเยโรม)
* “ถ้าเราเข้าใจซึ้งถึงคุณค่าของมิสซาแล้วไซร้ เราคงจะร่วมถวายด้วยใจร้อนรนมากกว่านี้อีกหลายเท่านัก (นักบุญยอห์นมารีเวียนเนย์)
* นักบุญเทเรซา ถามพระเจ้าว่า “จะแสดงความขอบคุณพระองค์ได้อย่างไร” พระองค์ทรงตอบว่า “จงร่วมบูชามิสซา”

คุณค่าของมิสซา

ที่มา : นิตยสารแม่พระยุคใหม่ ฉบับที่ 167 ปีที่ 29 กันยายน – ตุลาคม 2009/2552
จงระลึกไว้เถิดว่า เมื่อท่านจวนจะสิ้นใจนั้นมิสซาทั้งหมดที่ท่านได้ร่วมอย่างศรัทธา จะปลอบใจท่านอย่างอเนกอนันต์
เมื่อท่านร่วมถวายมิสซาด้วยใจศรัทธา ท่านก็ถวายเกียรติสูงสุดแด่มนุษยภาพของพระเยซูเจ้า
ท่านอาจถวายให้วิญญาณในไฟชำระพ้นโทษได้ เพราะมิสซามีค่าสูงสุด
ท่านจะได้รับพร แม้สำหรับธุรกิจการงานในโลกนี้
พระองค์จะไม่สนพระทัยในความเลินเล่อมากมายของท่าน
พระองค์ทรงยกบาปท่าน แม้ที่ท่านไม่เคยสารภาพ แต่มีความทุกข์จริงใจแล้ว
แต่ละมิสซา เป็นการวอนขออภัยให้ท่าน จากพระยุติธรรมของพระเจ้า
แต่ละมิสซา ช่วยลดโทษบาปของท่าน มากหรือน้อยสุดแล้วแต่ความศรัทธาของท่านในการร่วมมิสซา
แต่ละมิสซา ช่วยผลักไสปีศาจออกห่างจากท่าน
แต่ละมิสซา ป้องกันท่านให้พ้นอันตรายนานา ที่อาจมาถึงตัวท่านโดยไม่รู้ตัว
แต่ละมิสซา ลดเวลาในไฟชำระให้สั้นลง
แต่ละมิสซา เพิ่มเกียรติมงคลที่ท่านจะรับในสวรรค์
แต่ละมิสซา ได้รับพรจากพระสงฆ์ ซึ่งมีองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้รับรอง
มิสซาเดียวที่ท่านได้ร่วมขณะยังมีชีวิตอยู่ จะช่วยท่านให้รอด มากกว่าอีกหลายมิสซา ที่คนอื่นจะถวายให้เมื่อท่านตายไปแล้ว
* “คริสตชนเอ๋ย จงรู้ไว้เถิดว่า ร่วมมิสซาหนึ่งครั้ง ท่านได้บุญกุศลมากกว่าแจกทรัพย์สมบัติแก่คนจน หรือจาริกแสวงบุญไปทั่วทุกแห่งในโลก” (นักบุญเบอร์นาร์ด)
* “พระเจ้าทรงโปรดทุกสิ่งให้เรา ตามที่วอนขอในมิสซา และยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประทานให้แม้สิ่งที่เราไม่คิดจะวอนขอ แต่จำเป็นแก่เราอีกด้วย” (นักบุญเยโรม)
* “ถ้าเราเข้าใจซึ้งถึงคุณค่าของมิสซาแล้วไซร้ เราคงจะร่วมถวายด้วยใจร้อนรนมากกว่านี้อีกหลายเท่านัก (นักบุญยอห์นมารีเวียนเนย์)
* นักบุญเทเรซา ถามพระเจ้าว่า “จะแสดงความขอบคุณพระองค์ได้อย่างไร” พระองค์ทรงตอบว่า “จงร่วมบูชามิสซา”

คุณค่าของมิสซา

ที่มา : นิตยสารแม่พระยุคใหม่ ฉบับที่ 167 ปีที่ 29 กันยายน – ตุลาคม 2009/2552
จงระลึกไว้เถิดว่า เมื่อท่านจวนจะสิ้นใจนั้นมิสซาทั้งหมดที่ท่านได้ร่วมอย่างศรัทธา จะปลอบใจท่านอย่างอเนกอนันต์
เมื่อท่านร่วมถวายมิสซาด้วยใจศรัทธา ท่านก็ถวายเกียรติสูงสุดแด่มนุษยภาพของพระเยซูเจ้า
ท่านอาจถวายให้วิญญาณในไฟชำระพ้นโทษได้ เพราะมิสซามีค่าสูงสุด
ท่านจะได้รับพร แม้สำหรับธุรกิจการงานในโลกนี้
พระองค์จะไม่สนพระทัยในความเลินเล่อมากมายของท่าน
พระองค์ทรงยกบาปท่าน แม้ที่ท่านไม่เคยสารภาพ แต่มีความทุกข์จริงใจแล้ว
แต่ละมิสซา เป็นการวอนขออภัยให้ท่าน จากพระยุติธรรมของพระเจ้า
แต่ละมิสซา ช่วยลดโทษบาปของท่าน มากหรือน้อยสุดแล้วแต่ความศรัทธาของท่านในการร่วมมิสซา
แต่ละมิสซา ช่วยผลักไสปีศาจออกห่างจากท่าน
แต่ละมิสซา ป้องกันท่านให้พ้นอันตรายนานา ที่อาจมาถึงตัวท่านโดยไม่รู้ตัว
แต่ละมิสซา ลดเวลาในไฟชำระให้สั้นลง
แต่ละมิสซา เพิ่มเกียรติมงคลที่ท่านจะรับในสวรรค์
แต่ละมิสซา ได้รับพรจากพระสงฆ์ ซึ่งมีองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้รับรอง
มิสซาเดียวที่ท่านได้ร่วมขณะยังมีชีวิตอยู่ จะช่วยท่านให้รอด มากกว่าอีกหลายมิสซา ที่คนอื่นจะถวายให้เมื่อท่านตายไปแล้ว
* “คริสตชนเอ๋ย จงรู้ไว้เถิดว่า ร่วมมิสซาหนึ่งครั้ง ท่านได้บุญกุศลมากกว่าแจกทรัพย์สมบัติแก่คนจน หรือจาริกแสวงบุญไปทั่วทุกแห่งในโลก” (นักบุญเบอร์นาร์ด)
* “พระเจ้าทรงโปรดทุกสิ่งให้เรา ตามที่วอนขอในมิสซา และยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประทานให้แม้สิ่งที่เราไม่คิดจะวอนขอ แต่จำเป็นแก่เราอีกด้วย” (นักบุญเยโรม)
* “ถ้าเราเข้าใจซึ้งถึงคุณค่าของมิสซาแล้วไซร้ เราคงจะร่วมถวายด้วยใจร้อนรนมากกว่านี้อีกหลายเท่านัก (นักบุญยอห์นมารีเวียนเนย์)
* นักบุญเทเรซา ถามพระเจ้าว่า “จะแสดงความขอบคุณพระองค์ได้อย่างไร” พระองค์ทรงตอบว่า “จงร่วมบูชามิสซา”

แนะนำตัว

ชื่อนางสาวดรุณี ลาสนธิ
เลขที่ 23 ชั้นม.4/3
เกิด 26/ 2/1994
ผู้ให้คำแนะนำ คุณครูวีระชน ไพสาทย์

สำหรับแม่น้อยกว่านี้ได้ยังไง

อันความรักของแม่แน่วแน่นัก
เฝ้าฟูมฟักลูกรักจนเติบใหญ่
เมื่อวันใดที่ลูกรักเติบโตไป
ลูกจักได้เป็นคนดีของสังคม

ยามที่ลูกประสบกับความทุกข์...หันไปที่ใดไม่มีคนเข้าใจแต่ก็ยังมีไอแห่งความอบอุ่น...จากบุคคลคนหนึ่งเสมอมาบุคคลท่านนั้นก็คือแม่.....แม่ผู้เข้าใจในตัวลูกทำให้ลูกคนนี้มีกำลังใจที่จะก้าวเดินต่อไป....ในโลก

เมื่อรู้ว่าตัวเธอนั้นตั้งท้อง......เฝ้าประคองด้วยใจที่มุ่งหวังสิ่งที่ชอบเผ็ดร้อนเธอระวัง......เพื่อปกกันลูกน้อยจะกระเทือน...แม้ไม่รู้ว่าจะชายหรือหญิง.....เธอประวิงเฝ้านับครบวันเคลื่อนแม้จะเจ็บจะกลัวตัดทั้งปวง.....เธอปลื้มทรวง.....เสียงแว้..แรกเริ่มดัง